วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 8 ธุรกิจอื่นๆ และองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม  ถือ ว่าเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจที่ พักและธุรกิจขนส่งเพราะนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องรับประทานอาหารในระหว่างการ ท่องเที่ยวหรือการเดินทาง จึงต้องมีการให้บริการร้านอาหารได้หยุดพักผ่อนในระหว่างการเดินทางหรือใน แหล่งท่องเที่ยวเอง  นอกจากนี้ธุรกิจอาหารเองยังเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปชิมรสอาหารที่อร่อยแปลกกว่าที่อื่นหรือเป็นอาหารเฉพาะแห่งก็ได้  ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภทคือ
1.              ธุรกิจอาหารจานด่วน  เช่น  แม็คโดนัล  เคเอฟซี เป็นต้น
2.              ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่  เช่น ฟูดเซ็นเตอร์ในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
3.              ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์ เช่น  ร้านชาบูชิ   ร้านซูกิชิ เป็นต้น
4.              ธุรกิจคอฟฟี่ช้อป  เช่น  ร้านแบล็คแคนยอน เป็นต้น
5.              ธุรกิจคาเฟทีเรีย 
6.              ธุรกิจอาหารกูร์เมน์
7.              ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ  เช่นภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น  ไทย จีน เกาหลี  เป็นต้น
อาหารไทย  ถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีต  รวม ทั้งขั้นตอนที่พิถีพิถันในการปรุง อย่างไรก็ตามอาหารไทยนั้นมีความหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมความเป็นอยู่และสถาพภูมิประเทศ
ภาคเหนือ เช่น น้ำพริกหนุ่ม  ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ส้มตำ  ลาบ  น้ำตำ ข้าวเหนียว
ภาคกลาง เช่น น้ำพริกลงเรือ  แกงเขียวหวาน  แกงพะแนง
ภาคใต้ เช่น น้ำพริกกะปิ   แกงไตปลา  แกงส้ม เป็นต้น
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก  เป็นการประกอบธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเอง  เพื่อเป็นของที่ระลึก  ของฝาก  หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน  เช่นร้านขายของที่ระลึก  ร้านขายของฝาก  ไนท์บาร์ซ่า  ตลาดกลางคืน เป็นต้น  ส่วน ใหญ่สินค้าที่ระลึกจะถูกพัฒนามาจาศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่นโดยใช้วัสดุ ที่หายากในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิตและใช้แรงงานฝีมือคนในท้องถิ่นซึ่ง มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.              เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
2.              เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง
3.              เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
4.              เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและประโยชน์ใช้สอย
5.              เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง  ขนาด น้ำหนักเหมาะแก่การขนส่ง
6.              เป็นสินค้าที่ใช้แรงงานในท้องถิ่นเป็นผู้ผลิต
7.              เป็นสินค้าที่แสดงให้เป็นถึงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็น
ธุรกิจนันทนาการ  เป็น การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทาง หรือนักท่องเที่ยวประกอบด้วยธุรกิจหลายประเภทดังต่อไปนี้
1.              ธุรกิจสวนสนุก  เป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อให้บริการในด้านความบันเทิง  สนุกสนาน  เพลิดเพลิน  ประกอบด้วยเครื่องเล่น  เกมส์ การละเล่นต่างๆ
2.              ธุรกิจบันเทิง  เป็นสถานที่ที่ให้ความบันเทิงในยามค่ำคืน เช่น ไนท์คลับ  บาร์  ดิสโก้เทค  ผับ คาร์สิโน เป็นต้น
3.              ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว  เป็นธุรกิจที่ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปชมการแข่งขันกีฬายังสถานที่แข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว
ธุรกิจท่องเที่ยวประเภทอื่นๆ
1.              ธุรกิจการจัดประชุมสัมมนา
2.              ธุรกิจการจัดแสดงนิทรรศการและสินค้า
3.              ธุรกิจเช่าซื้อ
การบริการข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยว  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว เช่นข้อมูลการเดินทาง  ภูมิอากาศ  แหล่งท่องเที่ยว  กิจกรรมท่องเที่ยว  สิ่งอำนวยความสะดวก  งานเทศการประเพณี เป็นต้น ซี่งมี 4 ลักษณะข้อมูลข่าวสารดังนี้
1.              ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยว
2.              ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการเผยแพร่แก่คนในท้องถิ่น
3.              ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการเผยแพร่แก่องค์การบริหารการท่องเที่ยว
4.              ข้อมูลข่าวสารที่ใช้ในการเผยแพร่แก่ผู้ผลิตสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
มาตรการรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
1.              มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านอาชญากรรม  เช่น ตั้งจุดตรวจและหน่วยรับแจ้งเหตุในแหล่งท่องเที่ยว  จัดทำป้ายหรือแผ่นพับเตือนภัยให้แก่นักท่องเที่ยว  เป็นต้น
2.              มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุ  เช่น จัดทำป้ายเตือน  จัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดอันตราย  จัดฝึกอบรมอาสามัครบรรเทาสาธารณะภัย  สร้างสิ่งที่บ่งบอกถึงจุดอันตราย  และจัดตั้งหน่วยพยาบาลเบื้องต้น  เป็นต้น
3.              มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุข  เช่น กำหนดมาตรการควบคุมผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร  ตรวจสอบคุณภาพอาหารและรับรองร้านอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เป็นต้น
4.              มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านธรรมชาติ  เช่น จัดตั้งหน่วยกู้ภัยในบริเวณที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดภัยธรรมชาติ   จัดหาอุปกรณ์เตือนภัย  จัดอบรมอาสาสมัครเตือนภัย  เป็นต้น
5.              มาตรการด้านความปลอดภัยด้านการหลงทาง  เช่น จัดปฐมนิเทศนักท่องเที่ยวก่อนการออกเดินทาง  จัดฝึกอบรมผู้นำเที่ยว  จัดทำป้ายบอกเส้นทาง  จัดทำแผนที่ให้กับนักท่องเที่ยว  เป็นต้น
6.              มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านพืชและสัตว์ภายในแหล่งท่องเที่ยว  เช่น  จัดทำรั้วกันไม่ให้นักท่องเที่ยวรบกวนหรือทำลายพืชพรรณธรรมชาติ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น